รับมืออย่างไร กับวัยทองเด็ก 2ขวบ

” คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินคำว่า วัยทอง 2 ขวบ หรือ Terrible Two ใช่ไหมคะ ซึ่งเป็นวัยที่เด็ก ๆ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และพฤติกรรม อย่างเห็นได้ชัด เริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจพัฒนาการวัยนี้ให้ดีเลยนะคะ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับลูกวัยนี้ได้อย่างถูกต้อง “

สาเหตุที่ลูกวัยทอง 2ขวบหงุดหงิดง่าย

  • ลูกร้องไห้อาละวาดเพราะเขาเสียใจ ผิดหวัง ง่วงเหนื่อยและหิว แต่ยังสื่อสารบอกพ่อแม่ไม่ได้
  • ลูกกำลังเล่นสนุก แต่โดนขัดจังหวะ เช่น ต้องกินข้าว อาบน้ำ และอื่น ๆ จนรู้สึกเสียใจ
  • ลูกอยากมีอิสระ เล่นได้ตามใจต้องการ อยากเล่นของเล่นที่เลือกเอง และยังไม่ต้องการแบ่งของเล่นให้น้องหรือเพื่อน
  • ลูกอยากทำอะไรด้วยตัวเองได้ แต่ก็ยังทำได้ไม่ดี ไม่สำเร็จ เช่น อยากช่วยแม่กวาดบ้านแต่ผู้ใหญ่ก็บอกว่าหนูทำไม่ได้ จนรู้สึกเสียใจ รู้สึกตัวเองไม่สำคัญ
  • บางอย่างที่ลูกวัยนี้อยากทำแต่พ่อแม่ก็ไม่ให้ทำ บางอย่างถูกสั่งให้ทำโดยที่ลูกไม่เต็มใจ ลูกจึงแสดงความไม่พอใจตอบโต้ออกมา
  • ลูกมักงอแง ร้องไห้ ดิ้นลงไปกับพื้น เพราะไม่รู้จะควบคุมอารมณ์ตัวเองอย่างไร ซึ่งหากพ่อแม่ดุว่า ตำหนิหรือทำโทษ ยิ่งทำให้ลูกโมโหและมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อไปเรื่อย ๆ

7 วิธีรับมือลูก วัยทอง 2 ขวบ

1. ใจเย็น เข้าใจความต้องการของลูก 
ลูกวัยนี้อาจจะยังสื่อสารบอกความต้องการได้ไม่ดี และพยายามจะทำอะไรเองก็ยังไม่สำเร็จ จึงหงุดหงิดตัวเอง และหงุดหงิดสิ่งรอบตัวได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จึงควรรับรู้ว่าเป็นเรื่องปกติตามวัยของเขา พร้อมกับหมั่นพูดคุย สอบถามความต้องการของลูกเสมอว่าลูกอยากจะทำอะไร ให้แม่ช่วยไหม ต้องมีความสม่ำเสมอในการแนะนำลูก
2. เปลี่ยนจากคำสั่ง เป็นขอความร่วมมือ
เพื่อให้ลูกได้เลือกเอง เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้สึกว่าเขาทำได้ ให้เขามีสิทธิเลือก ที่สำคัญต้องพูดคุยอย่างใจเย็น ใจดี และเชื่อว่าลูกทำได้เสมอ ลูกจะได้อารมณ์ดีให้ความร่วมมือง่ายขึ้น เช่น แทนที่จะพูดว่า “อย่าวิ่ง” ก็เปลี่ยนเป็น “เดินช้า ๆ นะลูก เดี๋ยวหกล้ม” หรือแทนที่จะสั่งว่า “เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้” ให้เปลี่ยนเป็น “ถึงเวลาที่เจ้ากระต่าย ต้องกลับไปพักผ่อนแล้วครับ มาช่วยแม่เก็บกันเถอะ” การพูดขอความร่วมมือจะทำให้ลูกรู้สึกเป็นคนสำคัญในสายตาพ่อแม่ ต่อต้านน้อยลงได้
3. เอาใจใส่ ชมเชยในสิ่งที่ลูกทำได้ดี
เพื่อให้ลูกมีความภาคภูมิใจ และอารมณ์ดีได้ง่ายขึ้น โดยพ่อแม่ต้องให้คำชื่นชมลูกน้อยทุกครั้งที่ลูกเล่นกับเด็กคนอื่นได้ดี แบ่งของเล่นให้น้องได้ หรือเมื่อลูกช่วยเหลือตัวเองได้ดี เช่น ทานอาหารเอง เก็บของเล่นเอง แต่งตัวเอง ควรชมลูกว่า “หนูทำได้ดีมากค่ะ” หรือ “พยายามได้ดีมากค่ะ”

4. อ่านนิทาน สร้างเหตุการณ์สมมุติ
ลูกวัยนี้ให้ทำอะไรมักจะปฏิเสธว่าไม่ ไม่ชอบ กลัว หรืออื่น ๆ พ่อแม่ต้องไม่บังคับลูก แต่อาจจะต้องหานิทานหรือการ์ตูนช่วยสอนลูกให้เข้าใจสถานการณ์ แก้ไขปัญหาอารมณ์ ว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้ พฤติกรรมแบบไหนที่ไม่เหมาะสม เช่น เมื่อลูกไม่ยอมแปรงฟัน อาจอ่านนิทานหนูนิดชวนแปรงฟัน หรือ สอนลูกให้กินข้าวและเข้านอนเป็นเวลา ด้วยนิทานที่บอกเวลา หรือจะเป็นการ์ตูนรถไฟที่ออกเดินทางตามเวลาเสมอ

5. เข้าใจความต้องการของลูก
หากลูกน้อยอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่พร้อมจะทำตามหรือให้ความร่วมมือ เช่น ลูกกำลังเหนื่อยหรือหิว ก็ควรตอบสนองลูกทันที เช่น หาอะไรรองท้องให้ลูก ให้ลูกได้งีบหลับก่อนอาบน้ำ เพราะความเหนื่อยและความหิวเป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ที่สำคัญ หากไปบังคับหรือในลูกทำอะไรในช่วงนี้ลูกจะอาละวาดได้

6. ชวนลูกเล่น เบี่ยงเบนความสนใจ
หาของเล่นเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ มาเล่นกับลูก ให้ลูกอารมณ์ดี รวมถึงทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อไม่ให้ลูกไม่เบื่อหรือหงุดหงิดง่าย ตัวอย่างของเล่นสนุก ๆ สำหรับลูก 2 ปี

6. พาลูกออกไปนั่งรถเข็น เดินเล่น เล่นนอกบ้าน

ให้ลูกเล่นอยู่แต่ในบ้านเขาอาจจะเบื่อ เพราะมีแต่ของเล่นที่เห็นทุกวัน ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นหรือแปลกใหม่ ดังนั้นการพาลูกออกไปเดินเล่นสวนสาธารณะ ไปปั่นจักรยาน หรือนั่งรถเข็นสบาย ๆ ดูสัตว์ตามธรรมชาติ ก็จะช่วยให้ลูกอารมณ์อารมณ์ดีได้ หรืออาจมีตัวช่วยให้ลูกอารมณ์ดีนอกบ้านได้ เช่น

7. ชวนลูกเล่น เบี่ยงเบนความสนใจ

หาของเล่นเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ มาเล่นกับลูก ให้ลูกอารมณ์ดี รวมถึงทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อไม่ให้ลูกไม่เบื่อหรือหงุดหงิดง่าย ตัวอย่างของเล่นสนุก ๆ สำหรับลูก 2 ปี

Cr. ข้อมูลดีๆจาก babygiftretail

Loading

By |2023-06-05T10:46:42+07:00May 22nd, 2023|แม่บ้านสยาม|0 Comments